วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  รหัสวิชา  ท 21101  ภาษาไทย  1       
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เวลา  60  ชั่วโมง  จำนวน  1.5  หน่วยกิต  ภาคเรียนที่ 1


คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาหลักการอ่านออกเสียงทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง    สรุปใจความสำคัญ     ระบุเหตุผลจากเรื่องที่อ่าน  อธิบายคำ  เปรียบเทียบ    ตีความคำยากในเอกสารวิชาการ    คัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด    เขียนสื่อสาร  บรรยาย  เรียงความ  ย่อความ  พูดสรุปใจความสำคัญ  พูดแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์   เล่าเรื่องย่อ   อธิบายลักษณะของเสียงในภาษาไทย   การสร้างคำประสม    คำซ้ำ    คำซ้อน    คำพ้อง     คำราชาศัพท์   วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค    สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน    วิเคราะห์และอธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 
                โดยใช้กระบวนการทางภาษา   กระบวนการอ่านคิดวิเคราะห์   การสืบค้นความรู้   การจดบันทึก  ใช้ความสามารถในการคิด  การอภิปราย  การแสดงความคิดเห็น  การลงความคิดเห็น  การตีความ  การสรุปความ  ฝึกทักษะการอ่านและการเขียน  การฟังการดูและการพูด  เพื่อให้เกิดความรู้  ความเข้าใจในการเรียนรู้  ใช้ความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน  เห็นคุณค่าของภาษาไทย 
เพื่อให้เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีมารยาทในการอ่าน  การเขียน  การฟัง  การดูและการพูด  เห็นคุณค่าภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  อยู่อย่างพอเพียง  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภาคภูมิใจในภาษาไทย  และรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ    เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้เกิดประโยชน์ในชีวิต 

รหัสตัวชี้วัด
                ท 1.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4,  ม.1/5
                ท 2.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4,  ม.1/5,  ม.1/9
                ท 3.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3
                ท 4.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3,  ม.1/4
                ท 5.1  ม.1/1,  ม.1/2,  ม.1/3

รวม   21  ตัวชี้วัด

แบบทดสอบก่อนเรียน

ข้อใดจัดเป็นภาษาปาก
1
ในคอมมีอะไรให้ดูเยอะแยะ
2
การดื่มสุรามาก ๆ ไม่ดีต่อสุขภาพ
3
คนจนในสังคมทุกวันนี้มีมากมายกว่าคนรวย
4
หนูไม่เห็นว่าการซอยผมสั้นจะเสียหายตรงไหน

.
ข้อใดเป็นการพูดที่ก่อให้เกิดมิตรไมตรี
1
คุณป้าดูตกใจจะถือของประมูลหนูจะช่วยถือนะคะ
2
ป้าส่งของมาเดี๋ยววถือให้
3
เอาของมาจะถือให้ทำไมดื้อจริงป้านี่
4
บอกไม่กี่ครั้งแล้วไม่อนุญาตให้ถือของออกมา

.
หัวข้อเรื่องในข้อใดเป็นหัวข้อเรื่องสนทนาที่ดี
1
การเมือง
2
การปกครอง
3
ศาสนา
4
ลมฟ้าอากาศ

.
ข้อใดไม่เป็นการดูอย่างมีมารยาท
1
วิจารณ์ตามใจถ้าไม่ชอบ
2
ไม่สูบบุหรี่ในขณะดู
3
ตั้งใจดูอย่างสนใจ
4
ไม่ดูแล้วเล่าเรื่องล่วงหน้า

.
ข้อใดคือช่วงเวลาที่เหมาะสมกับนักเรียนที่จะดูรายการทางสถานีโทรทัศน์
1
๑๖.30 - ๒๐.๐๐ น.
2
๑๗.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
3
๑๗.๐๐ - ๒๒.๐๐ น.
4
๑๖.30 - ๒๓.๓๐ น.

.
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของดาวจระเข้
1
เป็นกลุ่มดาวมี ๗ ดวง
2
ประทานให้เห็นเวลาค่ำเดือน พ.ค. , มิ.ย.
3
ลักษณะเหมือนกระบวยตักน้ำ
4
จะมองเห็นส่วนหางดาวจระเข้ก่อนส่วนหัว

.
ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ในการท่องบทอาขยาน
1
ให้ตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย
2
ให้เป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์
3
เพื่อประกอบคุณธรรมคติธรรมแก่เยาวชน
4
เพื่อความเพลิดเพลินและนำไปประกอบการพูด

.
ข้อใดกล่าวเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง
1
คำพูดของสาธุชนเปรียบเหมือนงาช้าง
2
คนขยันเรียนเหมือนกับฝนทั่งให้เป็นเข็ม
3
ความรู้เปรียบได้กับสินทรัพย์
4
จิตใจมนุษย์หยั่งยากเหมือนฟากฟ้า

.
สิรีจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องออกไปพูดรายงานหน้าชั้นเรียน
1
แนะนำตัวแล้วเริ่มรายงาน
2
แนะนำตัวบอกหัวข้อรายงานรับรายงาน
3
แนะนำตัวเริ่มรายงานสรุปหัวข้อรายงาน
4
หัวข้อรายงานแนะนำตัวรับรายงาน

10 .
ข้อใดไม่ใช่มารยาทที่ดีในการพูด
1
พูดด้วยวาจาสุภาพหน้าตายิ้มแย้ม
2
รักษาอารมณ์ในการพูดให้เป็นปกติ
3
พูดดัง ๆ เพื่อให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง
4
ไม่พูดยกตนข่มท่าน

หน่วยที่1 เรื่องนิราศภูเขาทอง



     นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
ลักษณะคำประพันธ์
            นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับโคลงสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับ  จบด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วย คำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้...                                              

การเดินทางในนิราศ
        สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดบะโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ

คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
    คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
  1. สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
  2. สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
  3. การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิด เสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
  4. การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
  5. ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
  6. ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
  7. การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
  8. การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น


วรรณคดีไทย


        นิราศภูเขาทอง ๑. ประวัติความเป็นมา ๑.๑ ประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทอง 
นิราศภูเขาทองเป็นนิราศเรื่องเอกในบรรดานิราศทั้ง 8 เรื่องของสุทรภู่
สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อบวชเป็นพระอยู่ที่วัดราชบูรณะ และได้เดินทางๆเรือไปนมัสการ
พระเจดีย์ภูเขาทองเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ (ปีที่แต่งนิราศเรื่องนี้มีผู้เข้าใจเป็น ๒ ทางคือ ทางหนึ่งว่า
แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ อีกทางหนึ่งว่า แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ ) เจดีย์นี้อยู่ที่วัดภูเขาทองซึ่งเป็น
วัดโบราณอยู่กลางทุ่งนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าใจกันว่า
มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ภูเขาทองจึงเป็นที่นับถือของคนทั่วไป 


๑.๒ ประวัติพระเจดีย์ภูเขาทอง 
            พระเจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์อนุสรณ์เมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตี
กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ได้สร้างขึ้นที่วัดกลางทุ่งห่างจากกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๒ กิโลเมตร
เป็นเจดีย์ใหญ่ มีรูปทรงเป็นเจดีย์มอญ เรียกว่า พระเจดีย์ภูเขาทอง ตามชื่อวัดภูเขาทอง ต่อมา
วัดภูเขาทองและเจดีย์ปรักหักพังมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด
และเจดีย์ขึ้นใหม่ และได้เปลี่ยนจากทรงเจดีย์มอญมาเป็นเจดีย์แบบไทย
เนื้อเรื่องย่อนิราศภูเขาทอง

 
        เนื้อ เรื่องเริ่มตอนที่สุนทรภู่บวชเป็นพระภิกษุและออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ทางเรือเมื่อเดือนสิบเอ็ด หลังจากรับกฐินแล้ว โดยเดินทางไปกับนายพัดบุตรชาย ซึ่งเกิดจาก นางจัน เพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกเดินทางจาก
วัด ราชบูรณะ ผ่ายพระบรมมหาราชวัง สุนทรภู่รำพันถึงความหลังเมือ่ครั้นตนเองได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงชุบเลี้ยงไว้ใน ราชสำนัก ผ่านท่าแพ (ท่าราชวรดิษฐ์) วัดประโคนปัก โรงเหล้า บางจาก บางพลู บางพลัด บางโพ
บ้านญวน วัดเขมาภิรตาราม ตลาดแก้ว และที่ตลาดแก้วนี้สุนทรภู่ครวญถึงแม่จันซึ่งเป็น ภรรยาเคยให้ผ้าห่มแพรดำแก่สุนทรภู่ก่อนไปเมืองแกลง ผ่านตลาดขวัญ บางธรณี บ้านมอญ บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวง เชิงราก สามโคก ที่สามโคกนี้สุนทรภู่
รำพันถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่ง ประทานนามสามโคกว่าเมืองปทุมธานี และให้เป็นหัวเมืองชั้นตรี สุนทรภู่เดินทางผ่านบ้านงิ้วถึงเกาะราชครามในตอนเย็น จึงหยุด พักค้างแรม วันรุ่งขึ้นตอนเช้าออกเดินทางต่อไปถึงกรุงเก่า ขณะนั้นพระนายไวยซึ่งเคยเป็นกวีใน
ราชสำนักมาก่อน และคุ้นเคยกับสุนทรภู่ได้เป็นเจ้าเมือง (คือพระยาไชยวิชิต (เผือก)) สุนทรภู่ตกยากจึงไม่กล้าแวะเข้าไปหา เพราะเกรงว่าท่านเจ้าเมืองจะไม่รู้จักแล้วจะขายหน้า สุนทรภู่จึงผ่านจวนเจ้าเมืองไปพักค้างคืนที่หน้าวัดพระเมรุ ขณะจำวัดในเรือถูกโจรเข้ามา
ขโมยของในเรือ แต่สุนทรภู่รู้ตัวเสียก่อน จึงนำของออกไปไม่ได้ ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันอุโบสถ สุนทรภู่จึงไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง
ได้ พบพระบรม- ธาตุสถิตในเกสรดอกบัว จึงได้อัญเชิญมาด้วย แต่รุ่งเช้าก็อันตรธานไป สุนทรภู่พักค้างคืน ที่วัดภูเขาทองคืนหนึ่งจึงได้ล่องเรือกลับกรุงเทพมหานคร มาจำพรรษาที่วัดอรุณราชวราราม ตอนท้ายของนิราศ สุนทรภู่กล่าวว่านิราศเรื่องนี้กล่าวถึงความรักไว้บ้าง ใช่ว่าจะมี
ความรักจริงๆ ก็หาไม่ ที่กล่าวไว้เป็นเพียงพริกไทยใบผักชีโรยหน้าอาหารให้เกิดความ เอร็ดอร่อยเท่านั้นเอง

ที่มา:https://sites.google.com/site/thaipcw0507/hnwy-thi-1-hlak-kar-kheiyn-porkaerm

หน่วยที่2โคลงโลกนิติ

                                เรื่องโคลงโลกนิติ



คุณค่าของโคลงโลกนิติ

    คุณค่าของโคลงโลกนิติมีอยู่หลายด้านทีเดียว ซึ่งคนรุ่นหลังควรจะศึกษาและรักษามันเอาไว้
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
กวีมีความฉลาดและแยบคายในการประพันธ์ให้ผู้อ่านเห็นภาพ และเกิดความซาบซึ้งในโวหารเปรียบเทียบ มีการเลือกสรรถ้อยคำที่ใช้อย่างประณีตบรรจง ใช้คำสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้ง ไพเราะทั้งเสียง ทั้งจังหวะ และเมื่ออ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะก็ยิ่งจะได้รับรสของคำประพันธ์มากยิ่ง ขึ้น ดังตัวอย่างคำประพันธ์ต่อไปนี้

                                        “ปลาร้าพันห่อด้วย    ใบคา
                                    ใบก็เหม็นคาวปลา         คละคลุ้ง
                                    คือคนหมู่ไปหา            คบเพื่อน พาลนา
                                    ได้แต่รายร้ายฟุ้ง           เฟื่องให้เสียพงศ์”

จากคำประพันธ์ข้างต้นเป็นการใช้สัมผัสอักษรเล่นคำที่ทำให้เสียงไพเราะ มีจังหวะ ใช้คำง่ายๆ คมคาย ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพอย่างแจ่มชัดและจดจำคำกลอนได้ง่าย
การใช้โวหารภาพพจน์
        โคลงโลกนิติมีการใช้โวหารภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่ทำผู้อ่านได้เข้าถึงสาระของบทกวีดียิ่งขึ้น เช่น
ภาพพจน์อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งกับสิ่งหนึ่งเพื่ออธิบายสิ่งนั้นให้ชัดเจนขึ้น เช่น
                                        “นาคีมีพิษเพี้ยง     สุริโย
                                       เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
                                       พิษน้อยหยิ่งยโส     แมลงป่อง
                                       ชูแต่หางเองอ้า      อวดอ้างฤทธี”

คุณค่าด้านเนื้อหา
         โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีประเภทคำกลอน เป็นโคลงสุภาษิตเพื่อสอนให้เป็นคนดีปฏิบัติตนให้ถูกต้องในสังคม เป็นโคลงที่เข้าใจแก่นแท้และธรรมชาติของมนุษย์ทั้งทางโลก และทางธรรม เช่น
การใช้ทรัพย์ สอนให้รู้จักใช้ทรัพย์อย่างถูกวิธี ให้จัดสรรปันส่วนในการใช้จ่าย เช่น

                                    “ทรัพย์มีสี่ส่วนไซร้        ปูนปัน                                    ภาคหนึ่งพึงเกียดกัน       เก็บไว้
                                    สองส่วนเบ็ดเสร็จสรรพ์    การกิจ ใช้นา
                                    ยังอีกส่วนควรให้        จ่ายเลี้ยงตัวตน”
ลักษณะของคนดี สอนให้รู้ว่าคนดีควรมีลักษณะอย่างไร เช่น
                                    “ให้ท่านท่านจักให้     ตอบสนอง
                                    นบท่านท่านจักปอง     นอบไหว้
                                    รักท่านท่านควรครอง    ความรักเรานา
                                    สามสิ่งนิ่งนี้เว้นไว้      แต่ผู้ทรชน”

คุณค่าด้านสังคม
        โคลงโลกนิติเป็นโคลงที่มีคุณค่าต่อสังคมมาก เพราะเปรียบเสมือนเป็นกระจกส่องให้เห็นถึงพฤติกรรมของความเป็นมนุษย์ที่มีผล ต่อสังคม โคลงโลกนิติจึงเปรียบเป็นคู่มือในการใช้ครองเรือนให้มีความสุข ดำรงตนเป็นคนดีอยู่ในสังคม
อย่างถูกทำนองคลองธรรม เนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องนี้จึงมีผลอย่างมากต่อผู้อ่านที่จะทำให้เข้าใจ
ถึงความรู้สึกนึกคิด หรือสารที่ผู้แต่งต้องการสื่อออกมา อันจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ของคนในสังคมให้ดีขึ้น

การนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวัน
        โคลงโลกนิติเป็นวรรณคดีคำสอนซึ่งแสดงให้เห็นวิธีการใช้ชีวิตให้เป็นสุข และสามารถปฏิบัติตน
ให้อยู่ในกรอบที่ดีของสังคม สาระที่ปรากฏอยู่ในโคลงผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตได้ เช่น
การใฝ่ศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าในยุคสมัยใดการเรียนถือเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรขยันหมั่นเพียร เพราะความรู้ไม่มีใครสามารถขโมยไปได้และยังสามารถใช้เลี้ยงชีพของตนได้อีก ด้วย ดังโคลงบทนี้

                                     “ความรู้ดูยิ่งล้ำ     สินทรัพย์
                                คิดค่าควรเมืองนับ       ยิ่งไซร้
                                เพราะเหตุจักอยู่กับ       กายอาต-มานา
                                โจรจักเบียนบ่ได้        เร่งรู้เรียนเอา”

การเลือกคบคน การดำรงอยู่ในสังคมย่อมพบเจอกับผู้คนมากมาย ยากที่จะรู้ว่าใครดีหรือร้าย
จากการตัดสินแค่ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาให้ถ่องแท้ก่อนจะตัดสินว่าเป็นคนเช่นไร ดังโคลงบทนี้

                                    “ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้     มีพรรณ
                                    ภายนอกแดงดูฉัน      ชาดบ้าย
                                    ภายในย่อมแมลงวัน    หนอนบ่อน
                                    ดุจดังคนใจร้าย         นอกนั้นดูงาม”

=====

คำสอนในโคลงโลกนิติ

        คำสอนในโคลงโลกนิตินั้นส่วนใหญ่จะเน้นสุภาษิตเข้ามาจะสอนในเรื่องทำดีต่างๆละเว้นความชั่ว  สอนให้ทำความดี
โคลงโลกนิติสอนให้รู้จักความดีความชั่ว การที่เราได้รับผลอย่างไรย่อมมีเหตุจากการกระทำของเราทั้งสิ้น ผู้ทำดีย่อมได้รับผลดีตอบแทน ส่วนผู้ทำชั่ว ผลที่เกิดจากการทำชั่วนั้น ย่อมกัดกร่อนใจซึ่งเปรียบได้กับสนิมกัดกร่อนเนื้อเหล็กให้ผุพังไป ดังที่ว่า
สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อ ในตน
กินกัดเนื้อเหล็กจน      กร่อนขร้ำ
บาปเกิดแต่ตนคน       เป็นบาป
บาปย่อมทำโทษซ้ำ       ใส่ผู้บาปเอง
สอนให้รู้จักประมาณตน
        โคลงโลกนิติสอนให้รู้จักประเมินความสามารถและประมาณกำลังของตน นับเป็นคำสอนที่สอดคล้องกับแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ดังคำสอนที่ใช้แนวเทียบกับนกตัวน้อยที่หากินตามกำลังของตนและทำรังแต่พอตัว
                                        นกน้อยขนน้อยแต่     พอตัว
                                        รังแต่งจุเมียผัว         อยู่ได้
                                        มักใหญ่ย่อมคนหวัว     ไพเพิด
                                        ทำแต่พอตัวไซร้         อย่าให้คนหยัน
สอนให้รู้จักพิจารณาคนและรู้จักคบเพื่อน
    โคลงโลกนิติสอนให้รู้จักพิจารณาเลือกคบคน โดยกล่าวเปรียบเทียบว่า ก้านบัว สามารถบอกความตื้นลึกของน้ำได้ฉันใด กิริยามารยาทของคนก็สามารถบ่งบอกถึงการอบรมเลี้ยงดูได้ฉันนั้น คำพูดก็สามารถบ่งบอกให้รู้ว่าคนนั้นพูดฉลาดหรือพูดโง่ เช่นเกียวกับหย่อมหญ้าที่เหี่ยวแห้งย่อมบอกให้รู้ว่าดินในบริเวณนั้นไม่ดี ดังที่ว่า
                                    ก้านบัวบอกลึกตื้น          ชลธาร
                                    มารยาทส่อสันดาน         ชาติเชื้อ
                                    โฉดฉลาดเพราะคำขาน      ควรทราบ
                                    หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ     บอกร้านแสลงดิน
สอนไม่ให้ทำตามอย่างผู้อื่น
        เมื่อเห็นผู้อื่นมั่งมีกว่าก็ไม่ควรโลภ ไม่ควรอยากมีอยากได้ตามคนอื่น แม้จะยากจนก็ให้หมั่นทำมาหากิน อย่าเกียจคร้านและท้อแท้ ให้รู้จักใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ดังที่ว่า
                                    เห็นท่านมีอย่าเคลิ้ม      ใจตาม
                                    เรายากหากใจงาม       อย่าคร้าน
                                    อุตสาห์พยายาม         การกิจ
                                    เอาเยี่ยงอย่างเพื่อนบ้าน   อย่าท้อทำกิน
สอนให้มีความกตัญญู
        โคลงโลกนิติสอนให้ระลึกถึงพระคุณบิดามารดาและครู โดยกล่าวเปรียบว่าพระคุณของมารดานั้นยิ่งใหญ่เปรียบได้กับแผ่นดิน พระคุณของบิดาเล่าก็กว้างขวางเปรียบได้กับอากาศ พระคุณของพี่นั้นสูงเท่ากับยอดเขาพระสุเมรุ และพระคุณของครูบาอาจารย์ก็ล้ำลึกเปรียบได้กับน้ำในแม่น้ำทั้งหลาย ดังที่ว่า
                                    คุณแม่หนักหนาเพี้ยง     พสุธา
                                    คุณบิดรดุจอา-           กาศกว้าง
                                    คุณพี่พ่างศิขรา          เมรุมาศ
                                    คุณพระอาจารย์อ้าง       อาจสู้สาคร
สอนให้เป็นคนมีวาจาอ่อนหวาน
        คนที่พูดจาสุภาพไพเราะย่อมมีเพื่อนมาก เปรียบได้กับดวงจันทร์ที่มีดาวจำนวนมากรายล้อมประดับ ต่างกับคนพูดจากระด้างหยาบคาย ทำให้มีไม่ใครปรารถนาจะคบหรือสมาคมด้วย เปรียบได้กับดวงอาทิตย์แสงร้อนแรงที่บดบังแสงของดาวดวงอื่น ดังที่ว่า
                                    อ่อนหวานมานมิตรล้น     เหลือหลาย
                                    หยาบบ่มีเกลอกราย       เกลื่อนใกล้
                                    ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ    ประดับนา
                                    สุริยาส่องดาราไร้         เพื่อร้อนแรงแสง

หน่วยที่3ชนิดของคำ

ชนิดของคำ

คำนาม
            คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ วัตถุสิ่งของ สถานที่ต่างๆ ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม เช่น ความรัก การให้ ความดี ความชั่ว ครู นักเรียน ตำรวจ ทหาร แพทย์ พยาบาล ช้าง ม้า วัว ฃ กวาง นก กุ้ง หอย ปู ปลา ปะการัง โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา ท้องฟ้า ต้นไม้ น้ำตก ภูเขา บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม วัด เป็นต้น คำนาม แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ


1.คำนามทั่วไป(สามานยนาม)

            คือ คำนามที่ใช้เป็นชื่อทั่วไป หรือคำเรียกสิ่งต่างๆ โดยทั่วไปไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ กระเป๋า นักเรียน ครู หนังสือ ชิงช้า นักกีฬา สุขภาพ เป็ด นก หมู ช้าง ม้า วัว ควาย พัดลม ทหาร วัด


[2.คำนามชี้เฉพาะ(วิสามานยนาม)
            คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือเป็นคำเรียกบุคคล สัตว์ สิ่งของ ตลอดจนสถานที่ต่างๆ เพื่อเจาะจงว่าเป็นคนใด สิ่งใด หรือที่ไหน เช่น

    ชื่อของคน      คุณสมศักดิ์ คุณอรุณ นายวิมล นางวิชุดา
    ชื่อสถานที่       ชลบุรี นนทบุรี กาญจนบุรี พังแป้น พลายชุมพล วันจันทร์ วันศุกร์    บ้านรื่นฤดี วัดบวรนิเวศ โรงเรียนสงวนหญิง
โรงแรมโนโวเทล

    ชื่อสิ่งของ        หลักภาษาไทยพระยาอุปกิตศิลปสาร สามก๊ก พระไตรปิฎก   วารสารศิลปวัฒนธรรม พลอยแกมเพชร ไทยรัฐ


3.คำนามบอกลักษณะ(ลักษณนาม)
    คือ คำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่นๆ เพื่อบอกรูปร่าง ลักษณะ ขนาดหรือปริมาณของนาม มักจะอยู่หลังคำบอกจำนวน และแยกได้เป็นหลายชนิด คือ

        ลักษณนามบอกสัณฐาน เช่น วง ตน ใบ ตับ
        ลักษณนามบอกการจำแนก เช่น กอง หมวด ฝูง คณะ
        ลักษณนามบอกปริมาณ เช่น คู่ โหล กุลี หีบ
        ลักษณนามบอกเวลา เช่น นาที วัน เดือน ปี
        ลักษณนามบอกวิธีทำ เช่น จีบ ม้วน มัด พับ กำ
        ลักษณนามอื่นๆ เช่น พระองค์ รูป ตัวเรื่อง อัน เชือก

4.คำนามบอกหมวดหมู่(สมุหนาม)
        คือ คำนามที่บอกหมวดหมู่ของนามข้างหลังที่รวมกันมากๆ เช่น โขลงช้าง ฝูงนก ฝูงปลา คณะครูอาจารย์ คณะนักเรียน คณะสงฆ์ พวกกรรมกร หมู่สัตว์ หมวดศัพท์ ชุดข้อสอบ โรงหนัง แบบทรงผม


5.คำนามบอกอาการ(อาการนาม)
        คือ คำนามที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า"การ"หรือ"ความ"นำหน้า เช่น
ความดี ความชั่ว ความรัก ความสวย ความงาม ความจริง ความเร็ว การเกิด การตาย การเรียน การงาน การวิ่ง การศึกษา




คำสรรพนาม
            คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ แบ่งเป็น 7 ชนิด คือ

1.สรรพนามแทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง(บุรุษสรรพนาม)    ได้แก่

        สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนชื่อผู้พูด เช่น ฉัน ดิฉัน อิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า เรา อาตมา เกล้ากระผม เกล้ากระหม่อม ฯลฯ
        สรรพนามบุรุษที่ 2 แทนชื่อผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน เจ้า แก โยม พระคุณเจ้า ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ฯลฯ
        สรรพนามบุรุษที่ 3 แทนชื่อผู้กล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน เธอ แก พระองค์ท่าน ฯลฯ

2.สรรพนามชี้เฉพาะ(นิยมสรรพนาม)
            สรรพนามชนิดนี้ใช้แทนนามที่อยู่ใกล้หรือไกลผู้พูด ได้แก่ นี่ นั่น โน่น นี้ นั้น โน้น เช่น
                    "นี่บ้านกำนัน" "นี่ของใคร"
                    "นั่นมหาวิทยาลัย" "นั่นนักร้องยอดนิยม"
                    "โน่นโรงเรียน" "โน่นไงบ้านของฉัน"
                    "ห้ามนั่งตรงนั้นนะ"

3.สรรพนามใช้ถาม(ปฤจฉาสรรพนาม)
        คือ สรรพนามใช้แทนนามในประโยคคำถาม(ต้องการคำตอบ)ได้แก่ ใคร อะไร อย่างไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน เช่น "ใครมา" "ครต้องการไปกับพวกเราบ้าง"
                    "อะไรทำให้เขาเปลี่ยนไป" "อะไรอยู่บนโต๊ะ"
                    "พวกเราต้องทำตัวอย่างไร" "เธอกำลังจะไปไหน"
                    "ใครจะไปเที่ยวดอยตุงบ้าง" "สิ่งใดน่าจะดีที่สุด"

4.สรรพนามบอกความไม่เจาะจง(อนิยมสรรพนาม)
                คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่ไม่กำหนดแน่นอนมักใช้ในประโยคที่มีความหมายแสดง ความไม่แน่นอน ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ผู้ใด สิ่งใด ที่ไหน เช่น "ครูไม่เห็นใครเลย" "อะไรๆ ก็อร่อยไปหมด"
                                  "อะไรๆ ก็ทานได้" "ใครๆ ก็ขอบความน่ารักของเขา"
                                  "ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง" "ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนไม่สุขใจเหมือนอยู่บ้าน"

[5.สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ หรือสรรพนามแบ่งพวก รวมพวก (วิภาคสรรพนาม)
            คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามออกเป็นส่วนๆ หรือบอกให้รู้ว่ามีนามอยู่หลายส่วนและแสดงกริยาร่วมกันหรือต่างกัน ได้แก่คำว่า ต่าง บ้าง กัน เช่น "นักเรียนบ้างก็อ่านหนังสือบ้างก็นอนหลับ"
                                            "ผู้คนต่างแย่งชิงกันเข้าชมการแข่งขันเทนนิส"
                                            "นักกีฬาต่างแสดงฝีมือเต็มที่"
                                            "ทุกคนต่างมีหน้าที่ของตนเอง"
                                            "เขาทั้งสองคนนั้นรักกันจริง"
                                            "ชาวบ้านบ้างก็ทำนา บ้างก็ทำสวน บ้างก็เลี้ยงสัตว์"
                                            "พี่กับน้องทะเลาะกัน"

6.สรรพนามเชื่อมประโยค(ประพันธสรรพนาม)
        คือ สรรพนามที่ทำหน้าทแทนนามข้างหน้าและเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวพันกัน ได้แก่คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น
                    "บุคคลที่ประพฤติดีทั้งต่อหน้าและลับหลังย่อมเป็นที่รักของคนทั่วไป"
                    "ผมชอบเสื้อที่คุณแม่ซื้อให้"
                    "ฉันได้รับจดหมายซึ่งเธอส่งมาให้ทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษแล้ว"
                    "ครูให้รางวัลนักเรียนซึ่งเรียนดี"
                    "บทเพลงอันไพเราะได้รับรางวัล"
                    "ชัยชนะอันได้มาอย่างยากยิ่งครั้งนี้จะอยู่ในความทรงจำของเราตลอดไป"
                    "บุคคลที่ประสงค์ร้ายต่อชาติถูกตำรวจจับ"

7.สรรพนามใช้เน้นนามที่อยู่ข้างหน้า
            คือ สรรพนามที่มักเรียงไว้หลังคำนามเพื่อเน้นนามที่อยู่ข้างหน้าและยังช่วยแสดง ความรู้สึกของผู้พูดด้วย อาจเป็นความรู้สึกในเชิงยกย่อง คุ้นเคย ดูหมิ่น เกลียดชัง หรือความรู้สึกอื่นๆ เช่น "คุณยายท่านเป็นห่วงหลานๆ มาก" (ยกย่อง)
                                                                                 "เพื่อนๆ ของลูกเขาจะมาสนุกกัน" (คุ้นเคย)
                                                                                 "คุณฉวีวรรณเธอชอบเล่นดนตรีไทย" (คุ้นเคย)
                                                                                 "ระวังมนุษย์เจ้าเล่ห์มันจะฉวยโอกาส" (เกลียดชัง)

คำกริยา
        คำกริยา คือ คำแสดงอาการของคำนามหรือสรรพนาม หรือคำบอกสภาพที่เป็นอยู่ เช่น "น้องทำการบ้าน" "ฉันเป็นหวัด" "ไก่ขัน" "นกร้องเพลง" คำกริยา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

1.กริยาไม่ต้องมีกรรม(อกรรมกริยา)
            คือ คำกริยาที่มีใจความสมบูรณืชัดเจนในตนเองไม่ต้องมีกรรมมารับข้างท้าย เช่น กระดาษปลิว สะพานชำรุด ดอกกุหลาบหอม ลมพัด ม้าวิ่ง มานีหัวเราะ ฝนตก เครื่องบินลง

2.กริยาที่ต้องมีกรรม(สกรรมกริยา)
            คือ กริยาที่มีใจความไม่สมบูรณ์ขาดความชัดเจน จึงต้องมีกรรมมารับข้างท้าย เช่น "คุณแม่ทำขนมทุกวัน" "คุณตาปลูกผักสวนครัว" ฉันขลิบ...(ปลายเสื้อ) "คุณพ่อทำอาหาร" "ตำรวจจับผู้ร้าย" ฉันตัด...(ต้นไม้) "นกจิกข้าวโพด" "ฉันอ่านหนังสือ" "ครูชมลูกศิษย์" "สมใจเขียนจดหมาย"

3.กริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม(วิกตรรถกริยา)
            คือ กริยาที่ไม่มีความชัดเจน ขาดความหมายที่กระจ่างชัดในตัวเอง ดังนั้นจะใช้กริยาตามลำพังตัวเองไม่ได้จะต้องมีคำนามหรือสรรพนามมาขยายจึงจะ ได้ความ ได้แก่คำว่า คือ เป็น คล้าย เหมือน เท่า ประดุจ ราวกับ ฯลฯ เช่น "นายประชาเป็นตำรวจ" "คุณย่าเป็นครู" "ติ๋มคล้ายคุณย่า" "แมวคล้ายเสือ" "ฉันเหมือนคุณยาย" "เธอคือคนแปลกหน้าของที่นี่"

[4.กริยาช่วย(กริยานุเคราะห์)
            คือ คำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า อาจ ต้อง น่าจะ จะ คง คงต้อง คงจะ จง โปรด อย่า ช่วย แล้ว ถูก ได้รับ เคย ควร ให้ กำลัง ได้...แล้ว เคย...แล้ว น่าจะ...แล้ว ฯลฯ เช่น "ฝนอาจตก" "พี่คงกลับมาเร็วๆ นี้" "น้องต้องไปสอบแล้ว" "เด็กกำลังร้องไห้" "ขนมน่าจะสุกแล้ว" "นักเรียนควรส่งงานให้ตรงเวลา" "อย่ามาสายบ่อยๆ" "พี่ทำงานแล้ว" "เด็กๆ ควรดื่มนมก่อนนอน" "เขาเคยดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว"

คำวิเศษณ์
        คำ วิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ประกอบคำอื่นๆ เพื่อให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้น หรือคำที่ใช้ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อบอกเวลา บอกลักษณะ บอกจำนวน บอกขนาด บอกคุณภาพ บอกสถานที่ ฯลฯ อาจแบ่งได้ดังนี้


        1.  คำวิเศษณ์บอกลักษณะ "น้องคนเล็กชื่อเล็ก" "ถาดใบใหญ่ใส่ส้มผลเล็ก"

        2.  คำวิเศษณ์บอกเวลา "เขามาสายทุกวัน" "ไปเดี๋ยวนี้"

        3.  คำวิเศษณ์บอกสถานที่ "เขาเดินไกลออกไป" "เธอย้ายบ้านไปอยู่ทางเหนือ"

        4.  คำวิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน "ชนทั้งผอง พี่น้องกัน" "คนอ้วนมักกินจุ"

        5.  คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ "อย่าพูดเช่นนั้นเลย" "บ้านนั้นทาสีสวย"

        6.  คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ "คนอื่นไปกันหมดแล้ว" "สิ่งใดก็ไม่สำคัญเท่าความสามัคคี"

        7.  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม "ประเทศอะไรมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก" "น้องเธออายุเท่าไร"

        8.  คำวิเศษณ์แสดงคำขาน "หวานจ๋าไปเที่ยวไหมจ๊ะ" "คุณครูคะ กรุณาอธิบายช้าๆ หน่อยเถอะค่ะ"

        9.  คำวิเศษณ์แสดงความปฏิเสธ "คนที่ไม่รักชาติของตนเป็นคนที่คบไม่ได้" "บุญคุณของบุพการีประมาณมิได้"

        คำ วิเศษณ์ขยายคำนาม "เด็กน้อยร้องไห้" (น้อย ขยาย เด็ก) "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" (ใหญ่-เล็ก ขยาย ปลา) "ฉันมีกระเป๋าใบโต" (โต ขยาย *กระเป๋า) "เด็กดีใครๆ ก็รัก" (ดี ขยาย เด็ก)

        คำวิเศษณ์ขยายสรรพนาม "พวกเราทั้งหมดเลือกคุณ" (ทั้งหมด ขยาย พวกเรา) "ฉันเองเป็นคนทำ" (เอง ขยาย ฉัน) "ท่านทั้งหลายโปรดเงียบ" (ทั้งหลาย ขยาย ท่าน) "ใครเล่าจะล่วงรู้ได้" (เล่า ขยาย ใคร)

        คำวิเศษณ์ขยายกริยา "ผู้ใหญ่บ้านตื่นแต่เช้า" (เช้า ขยาย ตื่น) "อย่ากินมูมมาม" (มูมมาม ขยาย กิน) "ฝนตกหนัก" (หนัก ขยาย ตก) "เขาดำน้ำทน" (ทน ขยาย ดำน้ำ)

        คำ วิเศษณ์ขยายวิเศษณ์ "ม้าวิ่งเร็วมาก" (มาก ขยาย เร็ว) "พายุพัดแรงมาก" (มาก ขยาย แรง) "เขาท่องหนังสือหนักมาก" (มาก ขยาย หนัก) "เธอร้องเพลงเพราะจริงๆ" (จริงๆ ขยาย เพราะ)

คำสันธาน
        คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ ประโยคกับประโยค หรือข้อความกับข้อความ เมื่อเชื่อมแล้วจะได้ประโยคที่มีใจความดังนี้

๑.คำสันธานเชื่อมความคล้อยตามกัน  ได้แก่ และ กับ ถ้า ก็ แล้ว จึง ฯลฯ เช่น
            "คุณพ่อและคุณแม่สอนการบ้านฉัน"
            "ฉันสวดมนต์ไหว้พระแล้วจึงเข้านอน"
            "ถ้าเขามีความสุข ฉันก็ยินดีด้วย"

๒.คำสันธานเชื่อมความขัดแย้งกัน    ได้แก่ แต่ กว่า ก็ ถึง...ก็ แม้ว่า...แต่ก็ ฯลฯ เช่น
            "ถึงเขาจะโกรธฉันก็ไม่กลัว"
            "เขาอยากมีเงิน แต่ไม่ทำงาน"
            "รถไฟแม้ว่าจะช้า แต่ก็ปลอดภัย"

๓.คำสันธานเชื่อมความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง    ได้แก่ หรือ มิฉะนั้น มิฉะนั้น...ก็ ไม่...ก็ ฯลฯ เช่น
        "เธอจะไปหัวหินหรือพัทยา"
        "ไม่เธอก็ฉันต้องไปกับคุณแม่"
        "คุณต้องทำงานมิฉะนั้นจะไม่มีเงินใช้"

๔.คำสันธานเชื่อมความที่เป็นเหตุผลกัน    ได้แก่ เพราะ...จึง ดังนั้น...จึง จึง เพราะฉะนั้น...จึง ฯลฯ เช่น
        "เพราะเขาขยันเขาจึงสอบได้"
        "ฉันกินไม่ได้ดังนั้นฉันจึงผอม"
        "หน้าแล้งใบไม้ร่วงเพราะฉะนั้นสนามจึงสกปรก"

คำบุพบท
        คำ บุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำหรือคือคำที่โยงคำหน้าหรือกลุ่มคำหนึ่งให้ สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ เหตุผล ลักษณะ เวลา อาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ใน แก่ ของ ด้วย โดย กับ แต่ ต่อ ใกล้ ไกล ฯลฯ เช่น
เขาเดินทางโดยเครื่องบิน (ลักษณะ) ฉันซ่อนเงินไว้ใต้หมอน (สถานที่)
ครูต้องเสียสละเพื่อศิษย์ (เหตุผล) ฟันของน้องผุหลายซี่ (แสดงความเป็นเจ้าของ)

        ๑."กับ" ใช้แสดงอาการกระชับ อาการร่วม อาการกำกับกัน อาการเทียบกัน และแสดงระดับ
            เช่น "ลุงไปกับป้า" (ร่วม) "ฉันเห็นกับตา" (กระชับ)
        ๒."แก่" ใช้นำหน้าคำที่เป็นฝ่ายรับอาการ เช่น        "คนไทยควรเห็นแก่ชาติ" "พ่อให้เงินแก่ลูก"
        ๓."แต่" ใช้ในความหมายว่า จาก ตั้งแต่ เฉพาะ เช่น        "ฉันจะกินแต่ผลไม้" "เขามาถึงโรงเรียนแต่เช้า"
        ๔."แด่" ใช้แทนคำว่า "แก่" ในที่เคารพ เช่น        "นักเรียนมอบดอกไม้แด่อาจารย์" "เขาถวายอาหารแด่พระสงฆ์"
        ๕."ต่อ" ใช้นำหน้าแสดงความเกี่ยวข้องกัน ติดต่อกัน เฉพาะ หน้าถัดไป เทียบจำนวน
เช่น    "ฉันต้องรายงานต่อที่ประชุม" "เขายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ"
        ๖."ด้วย" ใช้นำหน้าคำนามหรือคำสรรพนาม เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นเครื่องใช้ และใช้ประกอบคำกริยาแสดงว่าทำกริยาร่วมกัน
เช่น "ยายกินข้าวด้วยมือ" "ผมขอทานข้าวด้วยคนนะ"

คำอุทาน
        คำ อุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมายแต่เน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ เช่น อนิจจา!ไม่น่าจะด่วนจากไปเลย (สลดใจ) อื้อฮือ! หล่อจัง (แปลกใจ) เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนั้น แบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะคือ ๑.เป็นคำ เช่น โอ๊ย! ว้าย! บ๊ะ! โอ้โฮ! โถ! ฯลฯ ๒.เป็นวลี เช่น พุทโธ่เอ๋ย! คุณพระช่วย! ตายละวา! โอ้อนิจจา! ฯลฯ ๓.เป็นประโยค เช่น คุณพระคุณเจ้าช่วยลูกด้วย! ไฟไหม้เจ้าข้า! ฯลฯ คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ

๑.อุทานบอกอาการ หมายถึง  ใช้เปล่งเสียงเพื่อบอกอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด เช่น

        โกรธเคือง เช่น ชิชะ! ชะๆ! ดูดู๋! เหม่! ฯลฯ
        ตกใจ ประหลาดใจ เช่น โอ้โฮ! ตายจริง! คุณพระช่วย! ว้าย! ฯลฯ
        เจ็บปวด เช่น โอ๊ย! อุ๊ย! โอย! ฯลฯ
        ประหม่า เก้อเขิน เช่น เอ้อ! อ้า! ฯลฯ

๒.อุทานเสริมบท    คือ คำพูดที่เสริมขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย อาจอยู่หน้าคำ หลังคำหรือแทรกกลางคำเพื่อเน้นความหมายของคำที่จะพูดให้ชัดเจนขึ้น เช่น กินน้ำกินท่า ลืมหูลืมตา กระป๋งกระเป๋า ถ้าคำที่นำมาเข้าคู่กันมีเนื้อความหรือความหมายไปในแนวเดียวกัน ไม่นับว่าเป็นคำอุทานเสริมบท เช่น ไม่ดูไม่แล ไม่หลับไม่นอน ร้องรำทำเพลง คำเหล่านี้เรียกว่า คำซ้อน ในคำประพันธ์ประเภทโคลงและร่าย มีการใช้คำสร้อย ซึ่งนับว่าเป็นคำอุทานเสริมบทได้ เช่น เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย ฯล

หน่วยที่4หลักภาษาไทย

ลักษณะอักษร         เสียงในภาษาไทย  มีอยู่  3  อย่าง คือ
1. เสียงแท้    ได้แก่  สระ
2. เสียงแปร   ได้แก่  พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี  ได้แก่  วรรณยุกต์
    สระ
สระในภาษาไทย  ประกอบด้วยรูปสระ21 รูป  และเสียงสระ  32 เสียง
                                                         พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ
   มี 44 ตัว  คือ

1. อักษรสูง  มี  11  ตัว  คือ   ข  ข  ฉ  ฐ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห  
2. อักษรกลาง  มี 9   ตัว  ก  จ  ฎ  ฏ  ด  ต  บ  ป  อ
3. อักษรต่ำ   มี  24  ตัว  คือ  
      3.1  อักษรคู่  คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14  ตัว   คือ   ค   ค   ฆ  ช  ฌ ซ  ฑ  ฒ ท ธ  พ  ภ  ฟ  ฮ
      3.2 อักษรเดี่ยว   คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน  มี  10  ตัว คือ   ง  ญ  ณ  น  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์  มี  4  รูป  ได้แก่
              1. ไม้เอก
              2. ไม้โท
              3. ไม้ตรี
              4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย  มี   5  เสียง
               1. เสียงสามัญ   คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา  มา  ทา  เป็น  ชน  
               2. เสียงเอก  ก่า  ข่า  ป่า  ดึก   จมูก  ตก  หมด
               3. เสียงโท  เช่น  ก้า  ค่า   ลาก  พราก  กลิ้ง  สร้าง
               4. เสียงตรี  เช่น  ก๊า  ค้า  ม้า  ช้าง  โน้ต  มด
               5. เสียงจัตวา  เช่น  ก๋า  ขา  หมา  หลิว  สวย  หาม  ปิ๋ว   จิ๋ว

                                   คำเป็นคำตาย
คำเป็น  คือ  คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กา  กี  กื  กู 
คำตาย  คือ  คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กะ  กิ  กุ   

คำสนธิ   คือ   การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน   โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ   หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท   เช่น
            ปิตุ + อิศ                                  เป็น                              ปิตุเรศ

 

            ธนู + อาคม                              เป็น                              ธันวาคม

 

            มหา + อิสี                                เป็น                              มเหสี

คำสมาส   คือ   การนำคำประสมตั้งแต่   2   คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, 

                  ความหมายคงเดิมก็มี   เช่น
             ราช + โอรส                            เป็น                             ราชโอรส
             สุธา + รส                                เป็น                             สุธารส
              คช + สาร                               เป็น                              คชสาร
คำเป็น   คือ   พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่   ก   กา   และพยางค์ที่มีตันสะกดใน   แม่  กน   กง   กม   เกย   และสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
คำตาย   คือ   พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่   ก   กา   กก   กด   กบ   แต่ยกเว้นสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา

อักษรควบ   คือพยัญชนะ   2   ตัว   ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน   เช่น   เพลา   เขมา

อักษรควบแท้   คือคำที่ควบกับ   ร   ล   ว   เช่น    ควาย  ไล่  ขวิด  ข้าง  ขวา             คว้า  ขวาน  มา  ไล่  ขว้าง ควาย  ไป

    ควาย  ขวาง  วิ่ง วน  ขวักไขว่        กวัดแกว่ง ขวานไล่  ล้ม  คว่ำ ขวาง ควาย.

อักษรควบไม่แท้    คือ   อักษร   2   ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว   ร   แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง   ร   หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น

เช่น   เศร้า   ทราย   จริง   ไซร้   ปราศรัย   สร้อย   เสร็จ   เสริม   ทรง   สร้าง   สระ

อักษรนำ   คือ   พยัญชนะ   2   ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน   บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น   หนู   หนอ   หมอ   หมี   อย่า   อยู่   อย่าง   อยาก   หรือบางคำออกเสียงเหมือน   2   พยางค์   เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง   แต่พยัญชนะ   2   ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ    เช่น
กนก   ขนม   จรัส   ไสว   ฉมวก   แถลง   ฝรั่ง   ผนวก
คำมูล   คือ   คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว   เช่น   ชน   ตัก   คน   วัด   หัด   ขึ้น   ขัด  
คำประสม   คือ   การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง   เช่น
แม่ + น้ำ     =  แม่น้ำ  แปลว่า   ทางน้ำไหล        
หาง + เสือ   =   หางเสือ แปลว่า   ที่บังคับเรือ 
ลูก + น้ำ       =      ลูกน้ำ
พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้   พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น   โลห์   เล่ห์
3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน
วลี   คือ   กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ   และมีความหมายเป็นที่รู้กัน   เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค   คือ   กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์   เช่น
1. ประโยค   2   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา

                                                     นก                 บิน

2. ประโยค   3   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา     +     กรรม
                                                      ปลา                 กิน                มด

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  รหัสวิชา  ท  21101   ภาษาไทย  1        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1   เวลา   60   ชั่วโมง  จำ...