นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ
ลักษณะคำประพันธ์
นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับโคลงสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับ จบด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วย คำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้...
การเดินทางในนิราศ
สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดบะโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระธาตุ จึงได้เดินทางกลับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอนนิราศภูเขาทอง มีการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
- สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
- สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน
- การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิด เสียงไพเราะ การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย
- การใช้กวีโวหาร คือ นิราศภูเขาทองมีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
- ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
- ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น
- การเลียนเสียง คือ กวีทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
- การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น
วรรณคดีไทย
นิราศภูเขาทอง ๑. ประวัติความเป็นมา ๑.๑ ประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทองเป็นนิราศเรื่องเอกในบรรดานิราศทั้ง 8 เรื่องของสุทรภู่
สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อบวชเป็นพระอยู่ที่วัดราชบูรณะ และได้เดินทางๆเรือไปนมัสการ
พระเจดีย์ภูเขาทองเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ (ปีที่แต่งนิราศเรื่องนี้มีผู้เข้าใจเป็น ๒ ทางคือ ทางหนึ่งว่า
แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ อีกทางหนึ่งว่า แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ ) เจดีย์นี้อยู่ที่วัดภูเขาทองซึ่งเป็น
วัดโบราณอยู่กลางทุ่งนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าใจกันว่า
มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ภูเขาทองจึงเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
๑.๒ ประวัติพระเจดีย์ภูเขาทอง
พระเจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์อนุสรณ์เมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตี
กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ได้สร้างขึ้นที่วัดกลางทุ่งห่างจากกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๒ กิโลเมตร
เป็นเจดีย์ใหญ่ มีรูปทรงเป็นเจดีย์มอญ เรียกว่า พระเจดีย์ภูเขาทอง ตามชื่อวัดภูเขาทอง ต่อมา
วัดภูเขาทองและเจดีย์ปรักหักพังมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด
และเจดีย์ขึ้นใหม่ และได้เปลี่ยนจากทรงเจดีย์มอญมาเป็นเจดีย์แบบไทย
นิราศภูเขาทองเป็นนิราศเรื่องเอกในบรรดานิราศทั้ง 8 เรื่องของสุทรภู่
สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองเมื่อบวชเป็นพระอยู่ที่วัดราชบูรณะ และได้เดินทางๆเรือไปนมัสการ
พระเจดีย์ภูเขาทองเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ (ปีที่แต่งนิราศเรื่องนี้มีผู้เข้าใจเป็น ๒ ทางคือ ทางหนึ่งว่า
แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๑ อีกทางหนึ่งว่า แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ ) เจดีย์นี้อยู่ที่วัดภูเขาทองซึ่งเป็น
วัดโบราณอยู่กลางทุ่งนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าใจกันว่า
มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ในพระเจดีย์ภูเขาทองจึงเป็นที่นับถือของคนทั่วไป
๑.๒ ประวัติพระเจดีย์ภูเขาทอง
พระเจดีย์ภูเขาทองเป็นเจดีย์อนุสรณ์เมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตี
กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. ๒๑๑๒ ได้สร้างขึ้นที่วัดกลางทุ่งห่างจากกรุงศรีอยุธยาประมาณ ๒ กิโลเมตร
เป็นเจดีย์ใหญ่ มีรูปทรงเป็นเจดีย์มอญ เรียกว่า พระเจดีย์ภูเขาทอง ตามชื่อวัดภูเขาทอง ต่อมา
วัดภูเขาทองและเจดีย์ปรักหักพังมาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จึงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด
และเจดีย์ขึ้นใหม่ และได้เปลี่ยนจากทรงเจดีย์มอญมาเป็นเจดีย์แบบไทย
เนื้อ เรื่องเริ่มตอนที่สุนทรภู่บวชเป็นพระภิกษุและออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ทางเรือเมื่อเดือนสิบเอ็ด หลังจากรับกฐินแล้ว โดยเดินทางไปกับนายพัดบุตรชาย ซึ่งเกิดจาก นางจัน เพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ออกเดินทางจาก
วัด ราชบูรณะ ผ่ายพระบรมมหาราชวัง สุนทรภู่รำพันถึงความหลังเมือ่ครั้นตนเองได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงชุบเลี้ยงไว้ใน ราชสำนัก ผ่านท่าแพ (ท่าราชวรดิษฐ์) วัดประโคนปัก โรงเหล้า บางจาก บางพลู บางพลัด บางโพ
บ้านญวน วัดเขมาภิรตาราม ตลาดแก้ว และที่ตลาดแก้วนี้สุนทรภู่ครวญถึงแม่จันซึ่งเป็น ภรรยาเคยให้ผ้าห่มแพรดำแก่สุนทรภู่ก่อนไปเมืองแกลง ผ่านตลาดขวัญ บางธรณี บ้านมอญ บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวง เชิงราก สามโคก ที่สามโคกนี้สุนทรภู่
รำพันถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่ง ประทานนามสามโคกว่าเมืองปทุมธานี และให้เป็นหัวเมืองชั้นตรี สุนทรภู่เดินทางผ่านบ้านงิ้วถึงเกาะราชครามในตอนเย็น จึงหยุด พักค้างแรม วันรุ่งขึ้นตอนเช้าออกเดินทางต่อไปถึงกรุงเก่า ขณะนั้นพระนายไวยซึ่งเคยเป็นกวีใน
ราชสำนักมาก่อน และคุ้นเคยกับสุนทรภู่ได้เป็นเจ้าเมือง (คือพระยาไชยวิชิต (เผือก)) สุนทรภู่ตกยากจึงไม่กล้าแวะเข้าไปหา เพราะเกรงว่าท่านเจ้าเมืองจะไม่รู้จักแล้วจะขายหน้า สุนทรภู่จึงผ่านจวนเจ้าเมืองไปพักค้างคืนที่หน้าวัดพระเมรุ ขณะจำวัดในเรือถูกโจรเข้ามา
ขโมยของในเรือ แต่สุนทรภู่รู้ตัวเสียก่อน จึงนำของออกไปไม่ได้ ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันอุโบสถ สุนทรภู่จึงไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง
ได้ พบพระบรม- ธาตุสถิตในเกสรดอกบัว จึงได้อัญเชิญมาด้วย แต่รุ่งเช้าก็อันตรธานไป สุนทรภู่พักค้างคืน ที่วัดภูเขาทองคืนหนึ่งจึงได้ล่องเรือกลับกรุงเทพมหานคร มาจำพรรษาที่วัดอรุณราชวราราม ตอนท้ายของนิราศ สุนทรภู่กล่าวว่านิราศเรื่องนี้กล่าวถึงความรักไว้บ้าง ใช่ว่าจะมี
ความรักจริงๆ ก็หาไม่ ที่กล่าวไว้เป็นเพียงพริกไทยใบผักชีโรยหน้าอาหารให้เกิดความ เอร็ดอร่อยเท่านั้นเอง
วัด ราชบูรณะ ผ่ายพระบรมมหาราชวัง สุนทรภู่รำพันถึงความหลังเมือ่ครั้นตนเองได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงชุบเลี้ยงไว้ใน ราชสำนัก ผ่านท่าแพ (ท่าราชวรดิษฐ์) วัดประโคนปัก โรงเหล้า บางจาก บางพลู บางพลัด บางโพ
บ้านญวน วัดเขมาภิรตาราม ตลาดแก้ว และที่ตลาดแก้วนี้สุนทรภู่ครวญถึงแม่จันซึ่งเป็น ภรรยาเคยให้ผ้าห่มแพรดำแก่สุนทรภู่ก่อนไปเมืองแกลง ผ่านตลาดขวัญ บางธรณี บ้านมอญ บางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ บางหลวง เชิงราก สามโคก ที่สามโคกนี้สุนทรภู่
รำพันถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่ง ประทานนามสามโคกว่าเมืองปทุมธานี และให้เป็นหัวเมืองชั้นตรี สุนทรภู่เดินทางผ่านบ้านงิ้วถึงเกาะราชครามในตอนเย็น จึงหยุด พักค้างแรม วันรุ่งขึ้นตอนเช้าออกเดินทางต่อไปถึงกรุงเก่า ขณะนั้นพระนายไวยซึ่งเคยเป็นกวีใน
ราชสำนักมาก่อน และคุ้นเคยกับสุนทรภู่ได้เป็นเจ้าเมือง (คือพระยาไชยวิชิต (เผือก)) สุนทรภู่ตกยากจึงไม่กล้าแวะเข้าไปหา เพราะเกรงว่าท่านเจ้าเมืองจะไม่รู้จักแล้วจะขายหน้า สุนทรภู่จึงผ่านจวนเจ้าเมืองไปพักค้างคืนที่หน้าวัดพระเมรุ ขณะจำวัดในเรือถูกโจรเข้ามา
ขโมยของในเรือ แต่สุนทรภู่รู้ตัวเสียก่อน จึงนำของออกไปไม่ได้ ครั้นรุ่งเช้าเป็นวันอุโบสถ สุนทรภู่จึงไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง
ได้ พบพระบรม- ธาตุสถิตในเกสรดอกบัว จึงได้อัญเชิญมาด้วย แต่รุ่งเช้าก็อันตรธานไป สุนทรภู่พักค้างคืน ที่วัดภูเขาทองคืนหนึ่งจึงได้ล่องเรือกลับกรุงเทพมหานคร มาจำพรรษาที่วัดอรุณราชวราราม ตอนท้ายของนิราศ สุนทรภู่กล่าวว่านิราศเรื่องนี้กล่าวถึงความรักไว้บ้าง ใช่ว่าจะมี
ความรักจริงๆ ก็หาไม่ ที่กล่าวไว้เป็นเพียงพริกไทยใบผักชีโรยหน้าอาหารให้เกิดความ เอร็ดอร่อยเท่านั้นเอง
ที่มา:https://sites.google.com/site/thaipcw0507/hnwy-thi-1-hlak-kar-kheiyn-porkaerm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น